ธปท.ออกมาตรการ เข้มต่อยอดธุรกิจอส้งหาฯเดินหน้า ต่อปี'๖๕ ส่วนเอกชนใช้"ดิจิทัล"เป็นเครื่องมือทางการตลาด

2461 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ธปท.ออกมาตรการ เข้มต่อยอดธุรกิจอส้งหาฯเดินหน้า ต่อปี'๖๕ ส่วนเอกชนใช้"ดิจิทัล"เป็นเครื่องมือทางการตลาด

ธปท.ออกมาตรการ

เข้มต่อยอดธุรกิจอส้งหาฯเดินหน้า ต่อปี'๖๕ ส่วนเอกชนใช้"ดิจิทัล"เป็นเครื่องมือทางการตลาด

 
●    ธปท.ออกโรงช่วยรัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์หวังโตตามสัดส่วน9.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)หลังฟุบหนักปี'64จากผลกระทบโควิด-19


        ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ในฐานะหน่วยงานภาครัฐผู้กำกับควบคุมดูแลธนาคารภาครัฐและเอกชน ธนาคารต่างชาติที่เข้ามาตั้งสาขาในไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หนึ่งในภาคธุรกิจที่เป็นส่วนสำคัญต่อการเติบโตร้อยละ 9.8 ของ GDPภายในประเทศ

 

        ดังนั้นจึงได้ออกมาตรการหลายมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายในภาค

อสังหาฯให้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบรุนแรงต่อธุรกิจมาก

 

       ผลกระทบดังกล่าวมีหลายประการดังนี้ คือ 1.มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ 801,241  ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนเท่ากับ-13.4% การออกใบอนุญาตจัดสรรทั่วประเทศ 68,357  หน่วย ลดลง 22.1% หน่วยที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ในเขต กทม.และปริมณฑล 43,051 หน่วยลดลง-35.0%

 

       ด้วยเหตุนี้ ธปท.จึงต้องใช้มาตรการกระตุ้นรายรับในภาคอสังหาฯที่เป็นภาพรวมใหญ่ของประเทศ ให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปข้างหน้าเพื่อรองรับปี 2565 ดังนี้

        1.คลายกฏ LTV  (LTV:loan to value:อัตราส่วนสินเชื่อต่อราคาบ้าน) ที่เป็นกฏข้อบังคับจากเดิม สำหรับการปล่อยกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยของแบงก์ทั้งภาครัฐและเอกชน 70-90% ขยายเพดานเป็น100% ถึงสิ้นปี พ.ศ.2565

         2.ต่ออายุมาตรการภาษีอสังหาริมทรัพย์ในการลดค่าโอนและจดจำนองเหลือ 0.01%จากเดิมสิ้นสุดในเดือนธันวาคม2564 ขยายเวลาถึงเดือนธันวาคมปี2565

       

          ดังนั้นธปท. จึงเห็นสมควรผ่อนปรนและลดข้อจำกัดต่างๆลงเพื่อดึงทุนนอกเข้ามาช่วยฟื้นระบบเศรษฐกิจและกระตุ้นให้เกิดการซื้อขาย  กระตุ้นให้เกิดการจ้างงานเพิ่มจำนวน 2.8ล้านคน เช่นภาคการผลิต เช่นเฟอร์นิเจอร์  เครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุโรงงาน ก่อสร้าง การเงิน โฆษณา บริการให้เช่าที่อยู่อาศัย ฯลฯ



        ก่อให้เกิดประโยชน์แก่คนจำนวนมาก ได้กระจายเม็ดเงินใหม่และพยุงการจ้างงานผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์โดยการ  redistribute สภาพคล่องจากสำนักงานและผู้ที่สามารถก่อหนี้เพิ่มได้โดยเฉพาะผู้มีรายได้ปานกลางขึ้นไปที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19ไม่มากนัก และสร้างเม็ดเงินให้กับธุรกิจเกี่ยวเนื่องในภาพรวม

        ที่สามารถช่วยผลักดัน GDPดังกล่าว เพราะถือว่ามาตรการไม่มีความเสี่ยง เนื่องจากการเก็บกำไรอสังหาริมทรัพย์อยู่ในระดับต่ำและสถาบันการเงินยังมีมาตรการปล่อยสินเชื่อที่ดี และสินเชื่อที่อยู่อาศัยไม่ซ้ำเติมปัญหาหนี้ครัวเรือนเนื่องจากหนี้ครัวเรือนของไทยอยู่ที่สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต 

         สรุปธปท.จะดูแลติดตามตลอดเพื่อปรับเปลี่ยนมาตรการได้อย่างเท่าทันและให้เหมาะสมกับสถานการณ์

 

●    ภาคเอกชนอสังหาฯปรับตัว

นำ"ดิจิทัล"ทำVirtual Sale Gallery


      นายประทีป  ตั้งมติธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทศุภาลัย กล่าวถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งในทุกรูปแบบที่ต้องนำมาใช้ เช่นการออกแบบการก่อสร้างใช้(IBM:Building Information Modeling)  หรือนำ  Vitual Sell Gallery  มาช่วยในการขายไปได้ทั่วโลกไร้ขอบเขตในการทำตลาดของธุรกิจอสังหาฯ

       แหล่งข่าวอสังหาฯ กล่าวเพิ่มไปด้วยว่า ควรประยุกต์ใช้โดยทำ Google Trends  หาอินไซด์ที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นเคมเปญเพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมาย  หรือ จัดทำ Content ให้มีความน่าสนใจเมื่อเกิดการเสิร์ชเอนจิ้นก็จะเสิร์ชได้อย่างคล่องแคล่ว

      จากผู้สนใจ อาทิตลาดจีน ที่สนใจอสังหาริมทรัพย์ไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เช่นมณฑลกวางตุ้ง มณฑลเจ้อเจียง  มลฑลเซี้ยงไฮ้  ปักกิ่ง  เจียงซู ฯลฯ

        รวมทั้งการลงทุนในช่องทาง"ดิจิทัล" ต่างๆ เพื่อลดต้นทุน เช่นลงใน  youtube  facebook  instargram  tiktok ฯลฯ ตลอดจนการปรับตัวของนักการตลาด ที่ต้องมองภาพรวมความถูกใจของลูกค้าเป็นหลัก        

        เช่นการปรับสภาพภูมิทัศน์ให้น่าอยู่  เช่น ฮวงจุ้ย ของห้องให้มองเห็นสระว่ายน้ำ ต้นไม้ ภูเขาฯ "ดิจิทัล"ทุกประเภทต้องทำไปพร้อมๆกัน เพื่อให้ถึงกลุ่มเป้าหมายและ สร้างยอดขายโดยเร็ว.

 
วลัยชูธรรมธัช  Executive  Editor

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้